โครงการถั่วงอกน้อยพอเพียง

“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ

1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”

2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ

1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services 4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

หลักการและเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียง คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ หรือ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

ถั่วงอก คือ ต้นอ่อนของถั่วที่ได้จากการเพาะเมล็ดถั่วเขียวโดยไม่ให้ถูกแสง นิยมนำมาประกอบอาหารชนิดต่างๆ อาทิ ผัดถั่วงอก ใส่ก๋วยเตี๋ยว ยำถั่วงอก รวมถึงเป็นผักรับประทานสด การเพาะถั่วงอก ถือเป็นอาชีพหนึ่งทางการเกษตรที่สามารถให้ผลตอบแทนในระยะเวลาที่รวดเร็วที่ สุด และมีขั้นตอนการเพาะ และการดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องให้ปุ๋ย เพียงให้น้ำอย่างเดียว ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเพาะเพียง 4 วัน เท่านั้นก็สามารถเก็บผลผลิตส่งขายได้การเพาะถั่วงอกในปัจจุบันจะใช้เมล็ดถั่วเขียว 2 สายพันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ แต่ที่นิยมในการเพาะถั่วงอกมากที่สุดคือ เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ ที่มีอัตราการงอกที่ดีกว่า อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งนี้ เมล็ดสายพันธุ์ทุกชนิดสามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกได้ แต่จะมีลักษณะของถั่วงอกที่แตกต่างตามสายพันธุ์

การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามรอยพ่อ คือการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่คนไทย มุ่งสร้างแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนแก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยกิจกรรมประการหนึ่งของโครงการ ถั่วงอกน้อยพอเพียง คือกิจกรรมที่ให้ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนวัดสุวรรณราชหงษ์ จังหวัดอ่างทอง จำนวน 25 คน ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมไปถึงการปฏิบัติจริงในการปลูกถั่วงอก โดยใช้ภาชนะจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาประยุกต์ใช้ โดยถั่วงอกที่ปลูกได้นั้นสามารถนำมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กและสามารถสร้างรายได้ ด้วยกิจกรรม ถั่วงอกน้อยพอเพียง เพื่อให้เด็กมีการพัฒนาศักยภาพเมื่อเขาเติบโตเป็นกำลังของชาติ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและสามารถขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.เพื่อให้นักเรียนสามารถนำถั่วงอกพอเพียงไปประยุกต์ในการเสริมสร้างรายได้และประกอบอาหารได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนสามารถนำความรู้จากการปลูกถั่วงอกมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

2.นักเรียนสามารถปลูกถั่วงอก มาเป็นการเสริมสร้างรายได้และช่วยลดภาระรายจ่ายผู้ปกครอง

ค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัด

เชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 จำนวน 25 คน

เชิงคุณภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับถั่วงอกน้อยพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับตนเอง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.ประชุมวางแผนโครงการ

2.เตรียมการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ

3.ติดต่อและประสานงานกับโรงเรียนวัดสุวรรณราชหงษ์

4.ขั้นตอนวางแผนการดำเนินงาน

5.กำหนดกิจกรรมที่จะไปดำเนินโครงการ

6.จัดหาวัสดุอุปกรณ์

7.ลงพื้นที่

8.ประเมินผลการดำเนินโครงการ

9.รายงานผลโครงการ

ระยะเวลา

โครงการถั่วงอกน้อยพอเพียง วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

จำนวน 3ชั่วโมง •ภาคเช้า 09:00-12:00 น.

งบประมาณ

งบประมาณทั้งหมด 2,000 บาท

-ค่าการเดินทาง 1,200 บาท

-เมล็ดถั่วเขียว 300 บาท

-ของที่ระลึก 178 บาท

-ของแจกเด็ก 207 บาท

-ค่าวัสดุอุปรณ์ทำสื่อ 115 บาท

การควบคุมและประเมินผล

แบบประเมินความพึงพอใจและแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

ผู้รับผิดชอบ

1. นางสาว มณีรัตน์ ปิ่นเกตุ 560112030045 ตำแหน่ง ประธาน

2. นางสาว พฤกษา นุ่มนวล 560112030042 ตำแหน่ง รองประธาน

3. นาย ธีรนัย ริกุลสุรกาน 560112030004 ตำแหน่ง กรรมการ

4. นาย อกนิษฐ์ พ่วงสมจิตร 560112030016 ตำแหน่ง กรรมการ

5. นาย สัญญา พันธ์ดี 560112030019 ตำแหน่ง กรรมการ

6. นางสาว ภัทราพร เถื่อนมูลละ 560112030064 ตำแหน่ง กรรมการ

7. นางสาว หทัยชนก สอนใจดี 560112030082 ตำแหน่ง กรรมการ

8. นางสาว ธิดารัตน์ ถนอมผล 560112030098 ตำแหน่ง กรรมการ

9. นางสาว เพ็ญนภา พรรณธีรกุล 560312030102 ตำแหน่ง กรรมการ

ขั้นตอนการปลูกถั่วงอกน้อยพอเพียง

วัสดุอุปกรณ์

1.ถั่วเขียว

2.ขวดพลาสติก

3.ธูป/หัวแร้ง

4.มีดคัตเตอร์

5.ผ้าที่ไม่ใช้แล้ว

ขั้นตอนการปลูกถั่วงอกน้อยพอเพียง

1.ใช้เมล็ดถั่วเขียวประมาณ 1 ถ้วยตวง แช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 55-60 องศาเซลเซียส ประมาณ1/2-1 ชั่วโมง แล้วล้างเมล็ดถั่วเขียวให้สะอาดโดยล้างเอาสิ่งเจือปนต่างๆ หลังจากนั้นแช่น้ำต่อไปอีก8-10ชั่วโมง หรือ 1คืน

2.นำถั่วงอกมาแช่น้ำอุ่นทิ้งไว้6-8 ชม. (น้ำเย็น2ส่วนต่อน้ำร้อน1ส่วน)

3.นำขวดมาตัด (ทำส่วนที่เอาไว้เปิดรดน้ำ) ใช้ธูปเจาะรู (ทำไว้ให้น้ำออก)

4.นำถั่วเขียวมาใส่ในขวดพลาสติกแล้ววางขวดน้ำแนวนอน

5.รดน้ำวันละ4-5ครั้ง 2 วัน

6.เมื่อได้ถั่วงอกแล้วนำเอาถั่วงอกออกจากขวด

ดำเนินโครงการถั่วงอกน้อยพอเพียง

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงเรียนวัดสุวรรณราชหงษ์ จังหวัด อ่างทอง

ความรู้ที่น้องได้รับจากโครงการถั่วงอกน้อยพอเพียง

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.